|
|
|
|
|
|
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) |
|
|
มีผู้รู้จักโรคนี้ไม่มากนัก บางคนเป็นโดยที่ตัวเองไม่ทราบ คิดว่าเป็นเพราะตนเองคิดมากไปเอง ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที บางคนเริ่มคุ้นหูจากคำเล่าลือว่า เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการเครียด เศร้า และมีแนวโน้มทำให้คิดฆ่าตัวตาย
สาเหตุการฆ่าตัวตายที่พบได้บ่อยและคนไม่ค่อยทราบกันคือโรคซึมเศร้า เนื่องจากมีคนจำนวนมาก ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแต่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วย ซึ่งหากป่วยแล้วปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้รักษา ก็จะส่งผลให้มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายได้
|
|
|
|
หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการเหล่านี้มากกว่า 5 ข้อติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อน ว่าอาจถูกโรคซึมเศร้ามาเยือนเข้าแล้ว
|
|
|
1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้างหรือกิจกรรมที่เคยชอบหรือสนใจ
3. สมาธิเสีย คือ ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4. รู้สึกอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
6. รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานน้อยลง
7. นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8. ตำหนิตัวเอง รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีค่า ขี้น้อยใจ
9. มีความคิดอยากตาย อยู่เรื่อยๆแต่ไม่ได้วางแผนชัดเจน หรือบางคนถ้าเป็นเยอะก็อาจมีการวางแผนหรือพยายามฆ่าตัวตาย หากญาติหรือคนใกล้ชิดเห็นเขามีท่าทีบ่นไม่รู้จะอยู่ไปทำไม หรือพูดทำนองฝากฝัง สั่งเสีย อย่ามองข้ามหรือต่อว่าเขาว่าอย่าคิดมาก แต่ให้สนใจพยายามพูดคุยกับเขา รับฟังสิ่งที่เขาเล่าให้มากๆ ถ้ารู้สึกไม่เข้าใจหรือมองแล้วไม่ค่อยดี ขอแนะนำให้รีบพาไปพบจิตแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว |
|
|
|
|
|
|
สาเหตุ
|
|
|
|
1. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคแบบชีวจิตสังคม เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ครอบครัวแตกแยก
2. ปัจจัยด้านพันธุกรรมเช่น ประวัติโรคในกลุ่มโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าในครอบครัว
3. ปัจจัยด้านสารเคมีในสมอง พบว่าระบบสารเคมีในสมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติอย่างชัดเจน โดยมีสารที่สำคัญได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดต่ำลง รวมทั้งอาจมีความผิดปกติของเซลล์รับสื่อเคมีเหล่านี้ ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการควบคุมประสานงานร่วมกัน มากกว่าเป็นความผิดปกติที่ระบบใดระบบหนึ่ง ยาแก้เศร้าที่ใช้กันนั้นก็ออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลย์ของระบบสารเคมีเหล่านี้
4. ลักษณะนิสัย บางคนมีแนวคิดที่ทำให้ตนเองซึมเศร้า เช่น มองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่องของตนเอง หรือ มองโลกในแง่ร้าย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมอาการอาจมากจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
|
|
|
|
|
|
|
การรักษา
|
|
|
โรคซึมเศร้ารักษาได้ การรักษามี 2 องค์ประกอบด้วยกัน อย่างแรกคือ ยา ที่จะช่วยปรับสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุล องค์ประกอบที่ 2 คือ การทำจิตบำบัด เช่น ผู้ป่วยมีปัญหาที่การควบคุมอารมณ์ ก็จัดการแก้ไขที่การควบคุมอารมณ์
ในผู้ป่วยบางคนประมาณ 1-2 เดือนหลังจากเริ่มรักษา ก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่หากไม่รักษาชีวิตอาจจะพัง เช่น หย่าร้าง มีปัญหาด้านการเรียน ต้องออกจากงาน หรือถึงขั้นฆ่าตัวตาย |
|
|
|
|
|
|
1. การรักษาด้วยยา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
|
|
|
|
1.1 การรักษาระยะเฉียบพลัน เป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยไม่มีอาการหลงเหลือเลย และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ ยาหลักคือยาแก้ซึมเศร้า
1.2 การรักษาระยะต่อเนื่อง คือการให้การรักษาต่อจากระยะเฉียบพลันต่ออีกประมาณ 4-9 เดือนหลังจากผุ้ป่วยหายแล้ว โดยให้ยาในขนาดเดียวกับที่ได้ในระยะเฉียบพลัน เป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงของการกลับเป็นซ้ำ
1.3 การป้องกันระยะยาว เป้าหมายเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของตัวโรคหลังจากอาการดีขึ้นมากแล้ว ระยะเวลาในการให้ยาในระยะนี้จะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง ซึ่งโดยทั่วไปมักให้ 2 ปี |
|
|
|
|
|
2. จิตบำบัด |
|
|
|
2.1 Cognitive behavior therapy มุ่งแก้ไขแนวคิดรวมถึงการปรับพฤติกรรมในแง่ลบของผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจริง และมีทักษะในการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น
2.2 Interpersonal therapy ช่วยแก้ปัญหาเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับผู้อื่น มุ่งเน้นปัญหาความสัมพันธ์ในปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
|