Bullet Icon2 คลิกนิกหมอปิยนันท์
Bullet Icon2 คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม จิตเวช หมอปิยนันท์
Bullet Icon2 ตรวจรักษาโรคจิตเวชผู้ใหญ่
Bullet Icon2 ตรวจรักษาโดย พญ.ปิยนันท์ สงห้อง
Bullet Icon2 281 ถ.สามชัย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ข้างโรงแรมเก็นติ้ง ตำแหน่งเดิมคลินิกหมอศักดิ์ชัย)
Bullet Icon2 โทร. 074-223885 
       
 
  โรคแพนิค (Panic disorder)
 

           พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น อาการหลักของโรคนี้ ได้แก่ อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่าอาการแพนิค (panic attack) ที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง โดยมากจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ และจะมีอาการอยู่สั้นๆประมาณ 5-10นาทีไม่นานเกิน 30 นาที ทำให้ผู้ป่วยกลัวที่จะเกิดอาการซ้ำอีก กังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากอาการ หรือกลัวเกิดอาการซ้ำในที่สาธารณะแล้วไม่มีใครช่วยเหลือจนทำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการออกไปไหนมาไหน จึงมีผลรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆเช่น ทำให้ความสามารถในการประกอบอาชีพลดลง หรืออาจทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิด ตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากอาการที่มีทำให้ผู้ป่วยมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจหรือ โรคร้ายแรง แต่เมื่อไปพบแพทย์บ่อยๆ แล้วพบว่าผลการตรวจร่างกายและการทดสอบพิเศษไม่พบความผิดปกติจนบางครั้งญาติอาจคิดว่าผุ้ป่วยแกล้งทำ

 
 

อาการของแพนิคมีได้หลายอย่าง ได้แก่

   

1.ใจเต้นเร็ว ลั่นเหมือนตีกลอง
2. เหงื่อแตก
3. เจ็บบริเวณหน้าอก
4. อ่อนเพลีย
5. หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
6. คลื่นไส้หรือปั่นป่วนในท้อง
7. รู้สึกมึนงง โคลงเคลง เป็นลม
8. ความรู้สึกเหมือนตกอยู่ในความฝัน
9. มีการรับรู้บิดเบือนไป
10. รู้สึกชา หรือซ่า ตามปลายเท้า
11. ความกลัวอย่างท่วมท้น ร่วมกับความรู้สึกสังหรณ์ว่ามีบางอย่างที่น่ากลัวกำลังเกิดขึ้นกับตัวเองและเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้กลัวว่าจะตาย
12. ตัวร้อนวูบวาบ หรือตัวสั่น
13. ควบคุมตนเองไม่ได้เหมือนจะเป็นบ้า หรือแสดงบางอย่างที่น่าอายออกไป

โดยที่จะมีอาการหลาย ๆ อย่างดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกอาการ

 
   

 

 
 

สาเหตุ

มีปัจจัยหลายประการที่อาจประกอบกันทำให้เกิดอาการ เช่น
 
   

1. ศูนย์ควบคุมการทำงานของสมองและจิตใจเกี่ยวกับความหวาดกลัวไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าปกติ
2. พันธุกกรรม โรคนี้อาจพบได้ในครอบครัวเดียวกัน
3. มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทบางชนิดเช่น ซีโรโทนิน (serotonin) นอร์อิพิเนฟฟริน (norepinephrine)

 
       
 

การดำเนินโรค

 
   

โรคนี้มักเกิดในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือผุ้ใหญ่ตอนต้น โดยทั่วไปมักเป็นเรื้อรัง

 
   
 

การรักษา

 
   

          ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช และให้มั่นใจว่าโรคนี้ไม่เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตเหมือนที่ผู้ป่วยมักกลัว ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คือการรักษาทางยาร่วมกับการรักษาทางจิตสังคม เช่นการทำพฤติกรรมบำบัด การผึกการผ่อนคลาย หรือการทำจิตบำบัด ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นมาก อย่างเห็นได้ชัดภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6-8 เดือนเพื่อป้องกันการกำเริบของอาการการหยุดยา ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะจะเกิดอาการของการหยุดยา หรือมีอาการเก่ากำเริบ

 
     
 

การฝึกควบคุมการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย

 
   

1. นอนหงายตามสบายบนเตียง หรือพื้นที่ในบริเวณที่สงบ
2. มือทั้งสองประสานวางอยู่บนหน้าท้องไม่เกร็ง ผ่อนคลายกล้ามเนื้ออกและหัวไหล่
3. สูดลมหายใจเข้าช้าๆพร้อมทั้งสังเกตและจดจ่ออยู่ที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่ผ่านรูจมูกเข้าไปลึกเต็มที่จนหน้าท้องขยายขึ้น รู้สึกได้จากการที่มือทั้งสองถูกยกขึ้นช้า ๆ และหัวไหล่เคลื่อนขึ้น
4. เมื่อหายใจเข้าเต็มที่แล้ว นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
5. ผ่อนลมหายใจออกช้า ๆ พร้อมทั้งสังเกต และจดจ่อที่การเคลื่อนไหวของลมหายใจที่เคลื่อนที่ออกผ่านรูจมูกจนหน้าท้องแฟบลง มือทั้งสองลดต่ำลง
6. เมื่อหายใจออกจนหมด นับ 1,2,3 ในใจช้า ๆ
7. เริ่มหายใจเข้าและหายใจออกสลับกันไป เป็นจังหวะสม่ำเสมออย่างน้อย 10 ครั้ง
8. เมื่อมีความชำนาญอาจทำเวลานั่งโดยพิงเก้าอี้ตามสบาย มือทั้งสองวางไว้ที่หน้าขาหรือประสานกันอยู่ที่หน้าท้องวิธีการเหมือนกับการควบคุมการหายใจในท่านอนหงายทุกประการ