โรคจิตเภท |
|||
|
แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ | ||
1. ระยะเริ่มมีอาการ : อาการจะค่อยเป็นค่อยไป ญาติจะสังเกตว่าผู้ป่วยเปลี่ยนไปจากเดิม อาจจะเก็บตัวมากขึ้น มีพฤติกรรมแปลกๆที่ไม่เคยเป็นมาก่อนเช่น สนใจเรื่องไสยศาสตร์ มีการใช้สำนวนแปลกๆ ไม่ดูแลความสะอาดทั้งกับตนเองและห้องนอน ซึ่งระยะนี้อาจนานเป็นเดือนหรือเป็นปี | |||
2. ระยะอาการกำเริบ : ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติของอาการชัดเจน อาการที่พบคือ |
|||
2.1 อาการหลงผิด เช่น หลงผิดว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวล้วนแต่เกี่ยวโยงกับตนเอง หลงผิดว่าตนเองเป็นเทพเจ้า หวาดระแวงว่าตนเองถูกกลั่นแกล้ง มีคนปองร้าย ความหลงผิดที่ดึงเรื่องต่างๆ มาเชื่อมโยงกับตนเองเช่น เห็นคนคุยกันก็คิดว่าคุยเรื่องตนเอง อ่านหนังสือพิมพ์ก็รู้สึกว่าเอาเรื่องของตนเองไปเขียน นอกจากนี้ยังอาจมีความหลงผิดชนิดที่ไม่ค่อยพบในโรคจิตอื่นๆ ได้แก่ ความหลงผิดที่มีลักษณะแปลกๆ เป็นความเชื่อที่ไม่ว่าใครก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ เช่น เชื่อว่าตนเองมีเครื่องดักจับสัญญาณคลื่นอยู่ในสมอง | |||
2.2 อาการประสาทหลอน : คือการมีการรับรู้ทั้งๆ ที่ไม่มีสิ่งกระตุ้น ที่พบบ่อย คือ เสียงหูแว่ว โดยผู้ที่เป็นมักได้ยินเสียงคนพูดเป็นเรื่องราว และขณะที่ได้ยินก็รู้ตัวดียู่ตลอด ลักษณะที่พบบ่อยคือแว่วเสียงคนพูดคุยกัน หรือวิพากษ์วิจารณ์ตัวผู้ป่วย ประสาทหลอนชนิดที่พบรองลงไปคือ ภาพหลอน อาจเห็นคนใกล้ชิด เห็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ ส่วนใหญ่จะเห็นสีสัน รายละเอียดชัดเจน และมักมีหูแว่วร่วมด้วย ประสาทหลอนชนิดอื่นๆ เช่น ได้กลิ่นแปลกๆ หรือลิ้นรับรู้รสแปลกๆ อาจพบได้ แต่ไม่บ่อย |
|||
2.3 อาการด้านความคิด : ผู้ป่วยมักมีความคิดในลักษณะที่มีเหตุผลแปลกๆ ไม่เหมาะสม ตนเองเข้าใจคนเดียว ผู้ป่วยไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ตลอด ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นโดยผ่านทางการพูดสนทนา โดยอาจพูดจาไม่ต่อเนื่องกัน พูดเรื่องหนึ่งยังไม่ทันจบก็เปลี่ยนเรื่องทันที โดยที่อีกเรื่องหนึ่งก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องเดิมหรืออาจเกี่ยวเนื่องเพียงเล็กน้อย หรืออาจพบว่าตอบไม่ตรงคำถามเลย หากเป็นมากๆ การวางคำในตัวประโยคเองจะสับสนไปหมด ทำให้ฟังไม่เข้าใจเลย บางคนอาจใช้คำแปลกๆ ที่ไม่มีใครเข้าใจนอกจากตัวเอง |
|||
2.4 อาการด้านพฤติกรรม : พฤติกรรมในช่วงนี้จะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด บางรายเก็บตัวมากขึ้น อยู่แต่ในห้อง ไม่อาบน้ำหลายๆ วันติดกัน ผมเผ้ารุงรัง กลางคืนไม่นอน ชอบเดินไปมา หรือทำท่าทางแปลกๆ บางครั้งจู่ๆ ก็ตะโกนโวยวายหรือหัวเราะขึ้นมา หรือยิ้มกริ่มทั้งวัน แต่งเนื้อแต่งตัวแปลกๆ เช่น สวมเสื้อผ้าหลายตัวทั้งๆ ที่อากาศร้อน บางรายก้าวร้าว ระแวง หงุดหงิดมากจนทำร้ายผู้อื่นหรือทำลายข้าวของ |
|||
2.5อาการด้านลบ : ไม่กระตือรือร้น เฉื่อยชาลง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย อาจนั่งอยู่เฉยๆ ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร อารมณ์เฉยเมย พูดน้อยหรือไม่ค่อยพูด หรือไม่สนใจคบหาสมาคมกับใคร |
|||
3. ระยะอาการหลงเหลือ : ส่วนใหญ่แล้วอาการต่างๆ ที่กำเริบจะเป็นอยู่ช่วงหนึ่ง เมื่อรักษาก็จะทุเลาลง อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนจะหายไป หรืออาจมีแต่ก็น้อย ผู้ป่วยมักยังมีอาการหลงเหลืออยู่บ้าง เช่น มีความคิดแปลกๆ เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์หรือโชคลาง อาการด้านลบมักพบบ่อยในระยะนี้ |
|||
สาเหตุการเกิดโรค | |||
1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ |
|||
1. 1 พันธุกรรม ญาติของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิตเภทมีโอกาสเป็นโรคสูงกว่าประชากรทั่วไป โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของยีนหลายแห่งร่วมกัน ทำให้เกิดความผิดปกติในระดับเซลล์ |
|||
1.2ระบบสารชีวเคมีในสมอง เชื่อว่าโรคนี้เป็นจากสารเคมีในสมองที่ชื่อว่าโดปามีน (dopamine)ในบางบริเวณของสมอง มีการทำงานมากเกินไป และซีโรโทนีน (serotonin) ในบางบริเวณมีการทำงานลดลง |
|||
1.3กายวิภาคของสมอง เช่นมีปริมาณเนื้อสมองน้อยกว่าปกติ หรือมีช่องในสมอง (ventricle)โตกว่าปกติ |
|||
2. ปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคม |
|||
การรักษา | |||
การรักษาหลักในโรคนี้คือการใช้ยารักษาโรคจิต ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าในปัจจุบันเชื่อว่าสาเหตุของโรคจิตเภทนี้เป็นมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ซึ่งยารักษาโรคจิตจะไปช่วยแก้ไขหรือปรับระดับของสารเคมีต่างๆ ให้เข้าที่ทำให้อาการโรคจิตดีขึ้น อย่างไรก็ตามปัญหาส่วนหนึ่งของผู้ป่วยเกี่ยวข้องกับการปรับตัวต่อโรค ต่อสังคมรอบข้าง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยยา การช่วยด้วยจิตบำบัดหรือการให้คำแนะนำของแพทย์จะช่วยในส่วนนี้อย่างมาก | |||
1. ยารักษาโรคจิต เป็นหัวใจของการรักษา นอกจากเพื่อการควบคุมอาการแล้ว ยังสามารถลดการกำเริบซ้ำของโรคได้ พบว่าผู้ป่วยที่กลับมีอาการกำเริบซ้ำอยู่บ่อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่มีปัญหามาจากการขาดยา |
|||
การรักษานั้นอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง | |||
|
1.ระยะควบคุมอาการ เป็นการรักษาในช่วงอาการกำเริบ เป้าหมายของการรักษาในระยะนี้ คือ การควบคุมอาการให้สงบลงโดยเร็ว ยามีส่วนสำคัญมาก จะทำให้อาการของผู้ป่วยสงบลงโดยเร็ว โดยกลางคืนนอนหลับได้ อารมณ์หงุดหงิดหรือพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง อาการกระสับกระส่าย หรือวุ่นวายก็จะดีขึ้น ซึ่งมักเห็นผลในการรักษาเช่นนี้ได้ภายในสัปดาห์แรก ส่วนอาการประสาทหลอนและหลงผิดจะใช้เวลาหลายสัปดาห์ 2.ระยะให้ยาต่อเนื่อง หลังจากที่อาการสงบแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้อาการกำเริบ โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นสักช่วงหนึ่งแล้ว (เป็นเดือนๆ) แพทย์จะค่อย ๆ ลดยาลง จนถึงขนาดต่ำสุดที่คุมอาการได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน |
||
จะต้องกินยาไปนานเท่าไร | |||
ระยะเวลาในการรักษานั้น ส่วนใหญ่เห็นว่าในผู้ที่เป็นครั้งแรกนั้นหลังจากอาการโรคจิตดีขึ้นแล้วควรกินยาต่อไปอีกประมาณ 1 ปี หากผู้ป่วยมีอาการกำเริบครั้งที่สองควรกินยาต่อเนื่องไประยะยาว เช่น 5 ปี หากเป็นบ่อยกว่านี้ อาจต้องกินยาต่อเนื่องไปตลอด |
|||
2.การดูแลรักษาด้านจิตใจและสังคม |
|||
อาการของผู้ป่วยมักก่อให้เกิดปัญหาระหว่างตัวเขากับสังคมรอบข้าง แม้ในระยะอาการดีขึ้นบ้างแล้ว ปัญหาทางด้านสังคมก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งยาช่วยไม่ได้ นอกจากนี้อาการบางอย่าง เช่น อาการเฉื่อยชา แยกตัว ซึมเซา หรือภาวะท้อแท้หมดกำลังใจ มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การช่วยเหลือในด้านจิตใจและสังคม ที่แพทย์หรือผู้รักษาอาจใช้ร่วมกับยา ได้แก่ |
|||
2.1 การช่วยเหลือด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจมีความคับข้องใจ รู้สึกเครียด ไม่ทราบว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาภายในตนเองและปัญหาที่มีกับคนรอบข้าง ผู้รักษาจะให้คำแนะนำที่ผู้ป่วยสามารถนำไปปฏิบัติได้ |
|||
|